Saturday, February 24, 2024

ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน ที่ลดต่ำ กับความต้องการทางเพศ

 

ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน ที่ลดต่ำ กับความต้องการทางเพศ

    ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน ที่ลดต่ำ กับความต้องการทางเพศ

    การสูญเสียแรงขับทางเพศเป็นปัญหาที่อาจพบได้บ่อย โดยอาจมีสาเหตุมาจากความเครียดในเรื่องต่าง ๆ เช่น ชีวิตส่วนตัว การทำงาน การเปลี่ยนแปลงในชีวิตด้านต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม แรงขับทางเพศที่หายไป โดยเฉพาะเมื่อหายไปเป็นเวลานาน หรือเกิดขึ้นเรื่อย ๆ ก็อาจบ่งชี้ถึงปัญหาอื่นที่ซ่อนอยู่ก็เป็นได้ และหนึ่งในปัญหาที่พบบ่อยในผู้ชาย คือ ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน ที่ลดต่ำลง

    ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน คืออะไร

    เทสโทสเตอโรน (Testosterone) คือ ฮอร์โมนเพศชายที่อยู่ในกลุ่มฮอร์โมนแอนโดรเจน ซึ่งมีหน้าที่สำคัญอย่างมากในช่วงเข้าสู่วัยรุ่น และอาจมีหน้าที่ในการช่วยกำหนดลักษณะของเพศชาย เช่น อวัยวะเพศชายและลูกอัณฑะโตขึ้น เสียงแตก กล้ามเนื้อและกระดูกแข็งแรงขึ้น ความสูงเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ หลังช่วงแตกเนื้อหนุ่มหรือเข้าสู่วัยรุ่น เทสโทสเตอโรนอาจมีส่วนช่วยในการทำงานของร่างกาย ดังนี้

    • การสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง
    • การสร้างมวลกระดูก
    • การกระจายของไขมันในร่างกาย
    • การสร้างขนบนใบหน้าและตามร่างกาย
    • การสร้างอสุจิ
    • การสร้างแรงขับทางเพศ
    • การแข็งตัวของอวัยวะเพศ

    • ความสำคัญของ ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน กับผู้ชาย

    • เทสโทสเตอโรน คือ ฮอร์โมนเพศชายที่อยู่ในกลุ่มฮอร์โมนแอนโดรเจน ซึ่งมีหน้าที่สำคัญอย่างมากในช่วงเข้าสู่วัยรุ่น และอาจมีหน้าที่ในการช่วยกำหนดลักษณะของเพศชาย มื่อระดับเทสโทสเตอโรนลดต่ำลง อาจทำให้ความต้องการทางเพศลดลง อ่อนเพลีย หมดแรง และอาจทำให้เกิดอาการซึมเศร้าได้ โดยระดับเทสโทสเตอโรนจะเริ่มลดต่ำลงหลังจากอายุ 40 ปี และอาจลดลงมากขึ้น เมื่ออายุ 70  ปี โดยการตรวจเลือดอาจบอกได้ว่า ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนต่ำหรือไม่

      ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน และบทบาทในเรื่องแรงขับทางเพศ

      ความต้องการทางเพศของผู้ชายอาจจะค่อย ๆ ลดลงอย่างช้าๆ จากจุดสูงสุดในช่วงวัยรุ่นและวัยเลขสอง แต่แรงขับทางเพศของผู้ชายก็แตกต่างกันออกไปในแต่ละบุคคล นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงของแรงขับทางเพศในผู้ชายยังอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยอื่น ๆ ด้วย เช่น ความเครียด การนอนหลับ โรคเรื้อรังประจำตัว โอกาสในการมีเพศสัมพันธ์ นอกจากนี้ การที่ร่างกายมีระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนต่ำยังอาจทำให้แรงขับทางเพศและความต้องการทางเพศลดลง

      การให้เทสโทสเตอโรนทดแทน

      การให้เทสโทสเตอโรนทดแทนอาจมีหลายแบบ เช่น

      • การฉีด มักเป็นการฉีดฮอร์โมนทุก 3 หรือ 4 สัปดาห์ หรือทุก 3 เดือน เป็นการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ
      • การทาเจลเทสโทสเตอโรนลงบนผิวในตอนเช้า
      • การฝังฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน เป็นการฝังแคปซูลฮอร์โมนลงใต้ผิว วิธีการนี้มักนำมาใช้มากขึ้น เพื่อแทนการฉีดฮอร์โมนทุก ๆ 3 เดือน

      ในระหว่างการรักษา ควรมีการตรวจระดับเทสโทสเตอโรนเพื่อสังเกตดูอาการ ถ้าจำเป็นเพื่อการปรับขนาดของฮอร์โมนที่ให้ จะได้ทำให้แน่ใจว่าฮอร์โมนคืนสู่ระดับปกติ

      ถ้าผู้ป่วยมีปัญหามะเร็งต่อมลูกหมาก คุณหมอไม่แนะนำให้ใช้การให้เทสโทสเตอโรน ดังนั้นก่อนใช้การให้ฮอร์โมนทดแทน ควรมีการตรวจต่อมลูกหมากก่อน เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีปัญหาเรื่องมะเร็งต่อมลูกหมาก

    • ที่มา https://hellokhunmor.com/

    • ปัญหาเทสโทสเตอโรนต่ำ ส่งผลอย่างไรต่อร่างกาย

       

      ปัญหาเทสโทสเตอโรนต่ำ ส่งผลอย่างไรต่อร่างกาย

        ปัญหาเทสโทสเตอโรนต่ำ ส่งผลอย่างไรต่อร่างกาย

        ปัญหาเทสโทสเตอโรนต่ำ เป็นปัญหาที่อาจพบได้บ่อยในผู้ชายทุกช่วงวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ชายที่มีอายุมาก เมื่อระดับเทสโทสเตอโรนต่ำอาจส่งผลต่อสุขภาพ เช่น น้ำหนักเพิ่มขึ้น นอนไม่หลับ ร่างกายอ่อนเพลีย ไม่มีแรง ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นอาจเกี่ยวข้องกับปัญหาสุขภาพบางประการ รวมถึงพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันด้วย

        เทสโทสเตอโรน คืออะไร

        เทสโทสเตอโรน คือ ฮอร์โมนที่ส่งผลต่อลักษณะต่าง ๆ ของผู้ชาย เช่น เสียง กล้ามเนื้อ ขนบนใบหน้า รวมถึงยังอkจช่วยในการสร้างเม็ดเลือดแดง รักษาความแข็งแรงของกระดูก และช่วยการทำงานของสมอง โดยทั่วไป ระดับปกติของเทสโทสเตอโรนจะอยู่ในระดับตั้งแต่ 300-900 นาโนแกรม/เดซิลิตร ซึ่งระดับเทสโทสเตอโรนจะถึงจุดสูงสุดในช่วงวัยเลขสอง และหลังจากอายุ 30 หรือ 40 จะค่อย ๆ ลดลงปีละ 1% เมื่อระดับเทสโทสเตอโรนทีต่ำลง อาจทำให้ผู้ชายเผชิญกับปัญหาอย่าง เช่น

        • การเปลี่ยนแปลงของสุขภาพทางเพศ เช่น ความต้องการทางเพศลดลง การแข็งตัวของอวัยวะเพศตามธรรมชาติลดลง มีบุตรยาก
        • การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย เช่น ไขมันในร่างกายเพิ่มขึ้น มวลกล้ามเนื้อลดลง ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลดลง ความหนาแน่นของกระดูกลดลง หน้าอกบวมหรือกดเจ็บ ผมร่วง ขนตามร่างกายน้อยลง อาจมีพลังวังชาน้อยกว่าที่เคย
        • การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ เช่น ซึมเศร้า ไม่มีสมาธิ ความจำแย่ลง

        อย่างไรก็ตาม อาจต้องมีการระบุสาเหตุที่แน่ชัดอีกครั้งว่า ระดับเทสโทสเตอโรนต่ำเกิดมาจากการลดลงของเทสโทสเตอโรนเนื่องจากวัย หรือเกิดจากภาวะฮอร์โมนเพศต่ำ ซึ่งเป็นโรคที่ทำให้ร่างกายไม่สามารถสร้างเทสโทสเตอโรนในระดับปกติได้ หรืออาจเกิดจากปัจจัยอื่น ๆ เช่น ผลข้างเคียงของยา ไทรอยด์มีปัญหา โรคเบาหวาน โรคซึมเศร้า ซึ่งโรคเหล่านี้อาจทำให้เทสโทสเตอโรนต่ำลง และอาจรักษาได้ด้วยการทำให้เทสโทสเตอโรนสูงขึ้น

        ปัญหาเทสโทสเตอโรนต่ำ ส่งผลอย่างไรต่อร่างกาย

        หากระดับเทสโทสเตอโรนจนอยู่ในระดับต่ำเกิน อาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพ อาจทำให้แรงขับทางเพศที่ลดลง ปัญหาการไม่แข็งตัวของอวัยวะเพศ ไขมันในร่างกายเพิ่มขึ้น รวมถึงยังอาจทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการนอน ปัญหาทางจิตใจ และอาจทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย ไม่มีแรง นอกจากนี้ ยังอาจทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ดังนี้

        ปัญหาไทรอยด์

        ภาวะขาดไทรอยด์ (Hypothyroidism) หรือการมีระดับฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำ อาจทำให้ระดับพลังงานลดลง โดยภาวะนี้อาจเกิดจากโรคภูมิคุ้มกันต่อต้านตัวเองที่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันโจมตีไทรอยด์ของตัวเอง อาการนี้อาจพบได้บ่อยในผู้หญิง แต่ก็อาจเกิดในผู้ชายได้เช่นกัน โดยนอกจากจะทำให้เกิดความอ่อนเพลียเรื้อรังแล้ว ยังอาจทำให้มีอาการต่าง ๆ เช่น ท้องผูก น้ำหนักขึ้น ปวดกล้ามเนื้อ ผิวแห้ง ผมบาง อาการซึมเศร้า

        นอกจากนี้ ภาวะขาดไทรอยด์ยังอาจทำให้ระดับเทสโทสเตอโรนต่ำได้ หากมีปัญหาทั้ง 2 อย่างพร้อมกัน ก็อาจทำให้รู้สึกอ่อนเพลียอย่างต่อเนื่อง แต่เมื่อรักษาภาวะขาดไทรอยด์ก็อาจจะทำให้ระดับเทสโทสเตอโรนดีขึ้นด้วย

        ปัญหาการนอน

        อาการอ่อนเพลียที่เกิดขึ้นอาจเกิดจากการนอนไม่พอ หรือคุณภาพการนอนที่ไม่ดี เช่น นอนดึก หรืออดนอนบ่อยๆ หรืออาจเกิดมาจากภาวะผิดปกติในการนอน เช่น อาการหยุดหายใจขณะหลับ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความอ่อนเพลีย เนื่องมาจากทำให้คุณภาพการนอนต่ำ เพราะการขาดออกซิเจนเป็นระยะตลอดคืน หรืออาการขาอยู่ไม่สุข (Restless Leg Syndrome) เป็นอีกโรคหนึ่งที่ทำให้คุณภาพการนอนต่ำ และเกิดเป็นอาการอ่อนเพลียตลอดวัน

        โรคซึมเศร้า

        โรคซึมเศร้าเป็นอาการที่เกิดขึ้นกับจิตใจและร่างกาย ซึ่งอาจทำให้มีอาการต่าง ๆ เช่น รู้สึกเศร้า ว่างเปล่า หมดหวัง มีความวิตกกังวล ไม่สนใจความเป็นไปในโลก ไม่มีสมาธิ มีปัญหาการนอนหลับ พลังงานลดลง น้ำหนักเปลี่ยนแปลง ร่างกายอ่อนเพลีย ไม่มีแรง ซึ่งโรคซึมเศร้าอาจรักษาได้ด้วยการปรึกษาจิตแพทย์และการกินยาตามที่คุณหมอแนะนำอย่างเคร่งครัด

        ขาดธาตุเหล็ก

        โรคโลหิตจางเนื่องจากขาดธาตุเหล็กมักพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย แต่โรคโลหิตจางทุกประเภทล้วนแต่ทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย ไม่มีแรง ซึ่งระดับธาตุเหล็กต่ำในผู้ชายอาจเกิดจากการกินอาหารที่ไม่สมดุล การบริจาคเลือดบ่อยเกินไป หรืออาการมีอาการเลือดออกภายใน เช่น ที่กระเพาะอาหารหรือลำไส้ นอกจากนี้ โรคโลหิตจางยังอาจเกิดจากการขาดวิตามินต่าง ๆ เช่น วิตามินบี 12

        ที่มา https://hellokhunmor.com/

        เพิ่มฮอร์โมนเพศชาย ด้วยการออกกำลังกาย

         

        เพิ่มฮอร์โมนเพศชาย ด้วยการออกกำลังกาย

          เพิ่มฮอร์โมนเพศชาย ด้วยการออกกำลังกาย

          ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (Testosterone) เป็นฮอร์โมนเพศหลักในผู้ชายที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของกล้ามเนื้อ การรักษากล้ามเนื้อ และสุขภาพของผู้ชาย เช่น การเพิ่มพลังทางเพศ ช่วยปรับสมดุลทางอารมณ์ให้ดีขึ้น ซึ่งการออกกำลังกายบางประเภทอาจช่วย เพิ่มฮอร์โมนเพศชาย โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งผลิตภัณฑ์เสริมอาหารได้

          เพิ่มฮอร์โมนเพศชาย ด้วยการออกกำลังกาย

          การที่ผู้ชายมีระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนต่ำอาจทำให้เกิดปัญหา ดังนี้

          โดยระดับฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนอาจเปลี่ยนไปตามธรรมชาติตลอดทั้งวัน และลดลงอย่างช้า ๆ ตลอดชีวิต อย่างไรก็ตาม การออกกำลังกายแบบฝืนแรงต้านทาน (Resistance exercise) เช่น วิดพื้น อาจช่วยเพิ่มระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนได้ นอกจากนี้ การออกกำลังกายด้วยท่าสควอท และการออกกำลังกายแบบแอโรบิก ก็อาจส่งผลต่อระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนได้เช่นกัน ซึ่งการออกกำลังกายที่อาจช่วยเพิ่มฮอร์โมนเพศชาย อาจมีดังนี้

          ออกกำลังกายแบบฝืนแรงต้านทาน (Resistance exercise)

          การยกน้ำหนัก หรือการออกกำลังกายแบบฝึกกล้ามเนื้อ (Strength Training) อาจช่วยเพิ่มฮอร์โมนเพศชายได้ โดยการออกกำกายแบบฝืนแรงต้านอาจทำได้ ดังนี้

          • ใช้กล้ามเนื้อมากขึ้น อาจลองออกกำลังกายแบบที่ใช้ร่างกายทุกส่วน (Full-body Workout) อาจส่งผลต่อฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนมากกว่าการออกกำลังกายเฉพาะส่วน เนื่องจากได้ใช้กล้ามเนื้อหลายมัดในร่างกาย
          • เพิ่มน้ำหนัก แทนการยกน้ำหนักที่เบาเท่าเดิม แต่ยกหลายครั้ง
          • ใช้เวลาพักน้อยลง ในการพักระหว่างออกกำลังกาย

          ออกกำลังกายด้วยท่าสควอท

          การสควอท 4 เซต เซตละ 10 รอบ อาจช่วยให้ร่างกายผลิตเทสโทสเทอโรนมากขึ้น เมื่อเทียบกับการสควอท 11 เซต เซตละ 3 รอบด้วยน้ำหนักที่มากขึ้น ดังนั้น การออกกำลังกายที่มีรอบออกกำลังกายมากกว่าใน 1 เซต อาจเพิ่มฮอร์โมนเพศชายได้ดีกว่า

          นอกจากนี้ หากเปรียบเทียบการออกกำลังกายด้วยท่าสควอท กับท่าวิดพื้น (Push-up) อาจพบว่า การออกกำลังกายด้วยท่าสควอทอาจเพิ่มระดับฮอร์โทนเทสโทสเตอโรนได้มากกว่า เนื่องจากท่าสควอทใช้กล้ามเนื้อที่ขาซึ่งได้ใช้มวลกล้ามเนื้อมากกว่าการออกกำลังกายด้วยท่าวิดพื้น

          การออกกำลังกายแบบแอโรบิก

          การออกกำลังกายแบบแอโรบิกอาจช่วยเพิ่มระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนในผู้ชายที่มีน้ำหนักเกินและอ้วน นอกจากนี้ ระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนในผู้ป่วยที่มีภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ อาจเพิ่มขึ้นด้วยการออกกำลังกายแบบเอโรบิก เนื่องจากทำให้ลดเปอร์เซ็นต์ไขมัน และช่วยทำให้การไหลเวียนโลหิตดีขึ้น

          ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน

          การออกกำลังกายแบบใช้กล้ามเนื้อทั่วร่างกาย ถือเป็นการออกกำลังกายที่ส่งผลต่อการเพิ่มฮอร์โมนเพศชายมากที่สุด อย่างไรก็ตาม ยังอาจปัจจัยอื่น ๆ ที่สามารถส่งผลต่อระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน ดังนี้

          • น้ำหนัก หากมีน้ำหนักเกิน การออกกำลังกายจะสามารถช่วยทำให้คุณน้ำหนักลดลง ซึ่งอาจช่วยเพิ่มฮอร์โมนเพศชายได้
          • อายุ ผู้ชายที่มีอายุมากมีแนวโน้มว่า หลังออกกำลังกายร่างกายจะสามารถกระตุ้นฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนได้น้อยกว่า อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องการการศึกษาวิจัยเพิ่มเติม และไม่ว่าอย่างไรผู้ชายที่มีอายุมากขึ้นควรออกกำลังกายเพื่อรักษาสุขภาพ
          • ช่วงเวลา เมื่อออกกำลังกาย ระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนจะสูงสุดในตอนเช้า และต่ำสุดในตอนบ่าย นอกจากนี้ การออกกำลังกายแบบฝืนแรงต้านทานอาจส่งผลต่อระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนในตอนเย็น ดังนั้น อาจวางแผนออกกำลังกายหลังเลิกงาน แทนการออกกำลังกายในตอนเช้า
          • ระดับความหนักในการออกกำลังกาย ถ้าออกกำลังกายในระดับเดิมตลอด เมื่อเวลาผ่านไปหลายสัปดาห์ อาจทำให้ร่างเคยชิน ท้ายที่สุดอาจมีการตอบสนองต่อฮอร์โมนลดลง ดังนั้น จึงควรค่อย ๆ เพิ่มระดับความหนักในการออกกำลังกาย เพื่อช่วยเพิ่มฮอร์โมนเพศชาย

          ข้อควรระวังในการออกกำลังกาย

          นักกีฬาอาชีพ หรือผู้ที่ต้องฝึกร่างกายอย่างหนัก อาจมีระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนลดลง ซึ่งถือเป็นสัญญาณอันตราย เนื่องจากมีแนวโน้มว่าร่างกายจะมีระดับเทสโทสเตอโรนต่ำ และมีระดับคอร์ติซอล (Cortisol) สูง ซึ่งถ้ามีสัญญาณและอาการเหล่านี้อาจหมายความบ่งบอกว่า กำลังออกกำลังกายมากเกินไป และอาจเกิดจากปัญหาอื่น ๆ ดังนี้

          • ออกกำลังกายรุนแรงมากเกินไป
          • มีปัญหาการฟื้นฟูร่างกายจากการออกกำลังกาย
          • มีปัญหาการนอนหลับ
          • สูญเสียสมรรถนะและความแข็งแรง

          ถ้าออกกำลังกายมากเกินไป ให้หยุดพักขณะออกกำลังกายและกินอาหารที่มีประโยชน์ ก็จะช่วยทำให้ร่างกายสามารถฟื้นฟูตนเองได้ อย่างไรก็ตาม ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำเพิ่มเติมสำหรับการออกกำลังกายอย่างถูกต้อง

          ที่มา https://hellokhunmor.com/