ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน ที่ลดต่ำ กับความต้องการทางเพศ
การสูญเสียแรงขับทางเพศเป็นปัญหาที่อาจพบได้บ่อย โดยอาจมีสาเหตุมาจากความเครียดในเรื่องต่าง ๆ เช่น ชีวิตส่วนตัว การทำงาน การเปลี่ยนแปลงในชีวิตด้านต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม แรงขับทางเพศที่หายไป โดยเฉพาะเมื่อหายไปเป็นเวลานาน หรือเกิดขึ้นเรื่อย ๆ ก็อาจบ่งชี้ถึงปัญหาอื่นที่ซ่อนอยู่ก็เป็นได้ และหนึ่งในปัญหาที่พบบ่อยในผู้ชาย คือ ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน ที่ลดต่ำลง
ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน คืออะไร
เทสโทสเตอโรน (Testosterone) คือ ฮอร์โมนเพศชายที่อยู่ในกลุ่มฮอร์โมนแอนโดรเจน ซึ่งมีหน้าที่สำคัญอย่างมากในช่วงเข้าสู่วัยรุ่น และอาจมีหน้าที่ในการช่วยกำหนดลักษณะของเพศชาย เช่น อวัยวะเพศชายและลูกอัณฑะโตขึ้น เสียงแตก กล้ามเนื้อและกระดูกแข็งแรงขึ้น ความสูงเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ หลังช่วงแตกเนื้อหนุ่มหรือเข้าสู่วัยรุ่น เทสโทสเตอโรนอาจมีส่วนช่วยในการทำงานของร่างกาย ดังนี้
ความสำคัญของ ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน กับผู้ชาย
เทสโทสเตอโรน คือ ฮอร์โมนเพศชายที่อยู่ในกลุ่มฮอร์โมนแอนโดรเจน ซึ่งมีหน้าที่สำคัญอย่างมากในช่วงเข้าสู่วัยรุ่น และอาจมีหน้าที่ในการช่วยกำหนดลักษณะของเพศชาย มื่อระดับเทสโทสเตอโรนลดต่ำลง อาจทำให้ความต้องการทางเพศลดลง อ่อนเพลีย หมดแรง และอาจทำให้เกิดอาการซึมเศร้าได้ โดยระดับเทสโทสเตอโรนจะเริ่มลดต่ำลงหลังจากอายุ 40 ปี และอาจลดลงมากขึ้น เมื่ออายุ 70 ปี โดยการตรวจเลือดอาจบอกได้ว่า ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนต่ำหรือไม่
ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน และบทบาทในเรื่องแรงขับทางเพศ
ความต้องการทางเพศของผู้ชายอาจจะค่อย ๆ ลดลงอย่างช้าๆ จากจุดสูงสุดในช่วงวัยรุ่นและวัยเลขสอง แต่แรงขับทางเพศของผู้ชายก็แตกต่างกันออกไปในแต่ละบุคคล นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงของแรงขับทางเพศในผู้ชายยังอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยอื่น ๆ ด้วย เช่น ความเครียด การนอนหลับ โรคเรื้อรังประจำตัว โอกาสในการมีเพศสัมพันธ์ นอกจากนี้ การที่ร่างกายมีระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนต่ำยังอาจทำให้แรงขับทางเพศและความต้องการทางเพศลดลง
การให้เทสโทสเตอโรนทดแทน
การให้เทสโทสเตอโรนทดแทนอาจมีหลายแบบ เช่น
- การฉีด มักเป็นการฉีดฮอร์โมนทุก 3 หรือ 4 สัปดาห์ หรือทุก 3 เดือน เป็นการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ
- การทาเจลเทสโทสเตอโรนลงบนผิวในตอนเช้า
- การฝังฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน เป็นการฝังแคปซูลฮอร์โมนลงใต้ผิว วิธีการนี้มักนำมาใช้มากขึ้น เพื่อแทนการฉีดฮอร์โมนทุก ๆ 3 เดือน
ในระหว่างการรักษา ควรมีการตรวจระดับเทสโทสเตอโรนเพื่อสังเกตดูอาการ ถ้าจำเป็นเพื่อการปรับขนาดของฮอร์โมนที่ให้ จะได้ทำให้แน่ใจว่าฮอร์โมนคืนสู่ระดับปกติ
ถ้าผู้ป่วยมีปัญหามะเร็งต่อมลูกหมาก คุณหมอไม่แนะนำให้ใช้การให้เทสโทสเตอโรน ดังนั้นก่อนใช้การให้ฮอร์โมนทดแทน ควรมีการตรวจต่อมลูกหมากก่อน เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีปัญหาเรื่องมะเร็งต่อมลูกหมาก
ที่มา https://hellokhunmor.com/
No comments:
Post a Comment